มือกีต้าร์ระดับเทพวงsilly fools




จักรินทร์ จูประเสริฐ (ต้น) กีตาร์ silly fools



Schecter








ที่มา ::http://darkfart2264.deviantart.com/art/Schecter-WallPaper-58737057

วิธีการตั้งสายกีต้าร์

นักกีต้าร์มือใหม่ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าการตั้งสายกีต้าร์นั้นเป็นเรื่องที่ยาก ก็เลยอาศัยให้นักกีต้าร์มือเก่าคอยตั้งให้ แต่หารู้ไม่ว่าที่จริงการตั้งสายนั้นง่ายมากเลย ขอแค่มีนิ้วกับความจำนิดหน่อยก็ตั้งได้แล้ว ผมจะบอกอะไรให้ครับ แค่คุณตั้งสายกีต้าร์เป็น คุณก็ดูเก่งขึ้น 20% แล้วครับ (โห้... จิงอ๊ะป่าว)

ในการตั้งสายนั้น คุณสามารถตั้งได้หลายคีย์ แล้วแต่ความพอใจของแต่ละคนครับ แต่มือใหม่ส่วนใหญ่มักจะชอบตั้งคีย์ตำๆ เพราะจะได้ไม่เจ็บนิ้วมาก ก็แล้วแต่ครับ ส่วนวิธีเทียบเสียงนั้น คุณอาจเทียบกับหลอดเทียบเสียง ซึ่งมีขายตามร้านขายเครื่องดนตรีทั่วไป แต่ถ้าสายกีต้าร์คุณราคาถูก ก็ไม่ควรตั้งให้ตึงมาก เพราะสายอาจขาดได้ครับ

เรามาดูวิธีตั้งสายกันเลยครับ

1.) บิดลุกบิดของสายที่ 6 (เส้นใหญ่สุด) ให้ได้คีย์ตามที่คุณต้องการ (ถ้าอยากได้เสียงสูง ก็บิดให้ตึงหน่อย อยากได้เสียงต่ำ ก็ให้หย่อนหน่อย) สำหรับคีย์ตามมาตรฐานของสาย 6 คือคีย์ E ครับ

2.) ใช้นิ้วกดเฟร็ตที่ 5 (เฟร็ต = ช่อง) ของสายที่ 6 แล้วดีดสายที่ 5 กับ 6 ให้ได้เสียงเดียวกัน ซึ่งก็คือคีย์ A

3.) ใช้นิ้วกดเฟร็ตที่ 5 (เฟร็ต = ช่อง) ของสายที่ 5 แล้วดีดสายที่ 4 กับ 5 ให้ได้เสียงเดียวกัน ซึ่งก็คือคีย์ D

4.) ใช้นิ้วกดเฟร็ตที่ 5 (เฟร็ต = ช่อง) ของสายที่ 4 แล้วดีดสายที่ 3 กับ 4 ให้ได้เสียงเดียวกัน ซึ่งก็คือคีย์ G

5.) ใช้นิ้วกดเฟร็ตที่ 4 (เฟร็ต = ช่อง) ของสายที่ 3 แล้วดีดสายที่ 2 กับ 3 ให้ได้เสียงเดียวกัน ซึ่งก็คือคีย์ B

6.) ใช้นิ้วกดเฟร็ตที่ 5 (เฟร็ต = ช่อง) ของสายที่ 2 แล้วดีดสายที่ 1 กับ 2 ให้ได้เสียงเดียวกัน ซึ่งก็คือคีย์ E

สามารถดาว์นโหลดตัวอย่างเสียงกีต้าร์ได้ที่นี้ (คิดว่าตรงตามมาตรฐาน) ซึ่งเป็นการดีดสายที่ 6 5 4 3 2 1


วิธีการตั้งสาย กีต้าร์อีกขั้นตอนนะครับ

การตั้งสายกีต้าร์ สามารถทำได้โดยเริ่มตั้งสายกีต้าร์จากสายล่างสุดก่อน สายล่างสุดจะเป็น key E
หากมีเครื่องตั้งสายกีต้าร์ ก็สามารถเทียบกับเครื่องทีละสายได้เลย แต่สำหรับเพื่อน ๆ ที่ไม่มี
เครื่องตั้งสายให้ยึดเอาเส้นล่างสุดเป็นหลักก่อน จากนั้นทำตามขั้นตอนการตั้งสายกีต้าร์ ดังต่อไปนี้

การตั้งสายกีต้าร์ สายที่ 1 เทียบ 2
ให้ทำการกดสายที่ 2 เฟรตที่ 5 แล้วดีดสาย 2 กับ 1 พร้อมกัน
ลองฟังดูว่าเสียงที่เกิดขึ้นจาก 2 สายนี้เป็นเสียงเดียวกันหรือไม่
หากเป็นเสียงตรงกันไม่เกิดเสียงวน ก็แสดงว่าตั้งสายกีต้าร์ 2 สายนี้ตรงแล้ว

การตั้งสายกีต้าร์ สายที่ 2 เทียบ 3
ให้ทำการกดสายที่ 3 เฟรตที่ 4 แล้วดีดสาย 3 กับ 2 พร้อมกัน
ลองฟังดูว่าเสียงที่เกิดขึ้นจาก 2 สายนี้เป็นเสียงเดียวกันหรือไม่
หากเป็นเสียงตรงกันไม่เกิดเสียงวน ก็แสดงว่าตั้งสายกีต้าร์ 2 สายนี้ตรงแล้ว

การตั้งสายกีต้าร์ สายที่ 3 เทียบ 4
ให้ทำการกดสายที่ 4 เฟรตที่ 5 แล้วดีดสาย 4 กับ 3 พร้อมกัน
ลองฟังดูว่าเสียงที่เกิดขึ้นจาก 2 สายนี้เป็นเสียงเดียวกันหรือไม่
หากเป็นเสียงตรงกันไม่เกิดเสียงวน ก็แสดงว่าตั้งสายกีต้าร์ 2 สายนี้ตรงแล้ว

การตั้งสายกีต้าร์ สายที่ 4 เทียบ 5
ให้ทำการกดสายที่ 5 เฟรตที่ 5 แล้วดีดสาย 5 กับ 4 พร้อมกัน
ลองฟังดูว่าเสียงที่เกิดขึ้นจาก 2 สายนี้เป็นเสียงเดียวกันหรือไม่
หากเป็นเสียงตรงกันไม่เกิดเสียงวน ก็แสดงว่าตั้งสายกีต้าร์ 2 สายนี้ตรงแล้ว

การตั้งสายกีต้าร์ สายที่ 5 เทียบ 6
ให้ทำการกดสายที่ 6 เฟรตที่ 5 แล้วดีดสาย 6 กับ 5 พร้อมกัน
ลองฟังดูว่าเสียงที่เกิดขึ้นจาก 2 สายนี้เป็นเสียงเดียวกันหรือไม่
หากเป็นเสียงตรงกันไม่เกิดเสียงวน ก็แสดงว่าตั้งสายกีต้าร์ 2 สายนี้ตรงแล้ว

ที่มา :: http://guitarxclass.blogspot.com/

ส่วนประกอบของกีต้าร์โปร่ง




ตามที่เห็นในรูป ผมจะแบ่งมันออกเป็น 3 ส่วนนะครับ คือ ส่วนหัว ส่วนคอ และลำตัว เพื่อให้ง่ายต่อการอธิบาย
ส่วนหัว ( Headstock ) จะเป็นส่วนที่มีลูกบิด ( Tuning Keys ) ที่จะเอาไว้ใส่สาย ตรงที่เป็นลูกบิดเรียกว่า Tuners ส่วนตรงที่มีรูให้เอาสายแหย่เข้าไปเรียกว่า Tuners postsส่วนแท่งสีขาวๆเล็กๆ ที่สายกีต้าร์พาดผ่านมันลงไป เราเรียกว่า nut ( นัท )
ส่วนคอ ( neck ) ก็จะมีฟิงเกอร์บอร์ด ( fingerboard ) และเฟร็ต ( frets )
ส่วนลำตัว ( body ) ก็จะมีช่องกลมๆใหญ่ๆที่เอาไว้รับเสียงเรียกว่า ซาวด์โฮล ( soundhole ) และในช่องนี้ยังสามารถที่จะติดตั้งอุปกรณ์รับเสียง ( pickup ) ได้ด้วยและมีปิ้คการ์ด ( pickguard ) เอาไว้ป้องกันรอยขูดขีดจากปิ้คของเราล่างสุดก็จะเป็นหย่องหลัง โดยอันที่ยึดติดกับตัวกีต้าร์เราเรียกว่า แซดเดิ้ล ( saddle ) จะมีหมุดสำหรับใส่สาย และมี บริดจ์ ( bridge ) คอยรองสายเอาไว้

ที่มา :: http://guitarxclass.blogspot.com/2008/08/acoustic-guitar.html

การจับคอร์ดกีต้าร์

การจับคอร์ดถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเล่นกีต้าร์เลยก็ว่าได้ ในโลกนี้มีคอร์ดอยู่มากมายมหาสาร
มีผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่าคอร์ดนั้นมีอยู่เป็นร้อยเป็นพันธ์เลยทีเดียว (โห้... ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ) ใครคิดวิธีจับแบบใหนได้ก็อาจจะเรียกเป็นคอร์ดใหม่เลยก็ได้ แต่อย่าพึ่งตกใจไปน่ะครับ คอร์ดหลักๆ นั้นมีอยู่แค่ 7 คอร์ดเท่านั้นเอง คือ A B C D E F และ G ส่วนที่เหลือนั้นก็จะเป็นพวกน้ำจิ๋มน้ำปลาทั้งนั้น

ในที่นี้ผมจะสอนวิธีการจับคอร์ดง่ายๆ และวิธีการดูคอร์ดจากรูปภาพ ซึ่งถ้าคุณรู้วิธีหล่าวนี้แล้ว คุณก็จะสามารถนำไปประยุคในการจับคอร์ดอื่นๆ ได้ เอาหละ เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ




จากรูป เป็นคอกีต้าร์ในลักษณะหันหน้าเข้าหาตัว เส้นในแนวตั้งก็คือสายกีต้านั้นเอง โดยเลข 1 ที่กำกับอยู่ข้างบนก็คือสายที่ 1 หรือสายที่เล็กที่สุด ส่วนเลขหกก็คือสายที่ใหญ่ที่สุด

เส้นในแนวนอนก็คือเส้นขั้นระหว่างเฟร็ต โดยเฟร็ตบนสุดก็คือเฟร็ตที่ 1 และถัดลงมาก็คือเฟร็ตที่ 2, 3, 4 .... ไปเรื่อยๆ

ส่วนรูปด้านล่างนี้ เป็นตัวอย่างของการจับคอร์ด C ซึ่งตัวเลขในลูกกลมๆ สีแดงก็คือนิ้วมือซ้ายนั้นเอง โดยรายละเอียดมีดังนี้






1 = นิ้วชี้ 2 = นิ้วกลาง 3 = นิ้วนาง 4 = นิ้วก้อย

ตัวเลขต่างๆ หล่าวนี้ที่จริงแล้วในตารางคอร์ดทั่วๆ ไปจะไม่มีกำกับไว้ ถ้าไม่มีแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าจับคอร์ดได้ถูกต้องหรือผิด? คำตอบก็คือไม่มีใครถูกใครผิดหรอกครับ เพราะการจับนั้นไม่ตายตัว ใครถนัดแบบใหนก็จับแบบนั้น แต่บางทีการจับให้ถูกต้องนั้นก็สำคัญเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่นการจับคอร์ด G จากรูปจะเห็นว่าเราไม่จำเป็นที่จะต้องใช้นิ้วก้อย (เลข 4) ในการจับเลย เพราะนิ้วชิ้วเรายังว่างอยู่นิ หลายคนโดยเฉพาะมือใหม่ๆ ก็เลยใช้นิ้วชี้กดแทนนิ้วกลาง ส่วนนิ้วกลางก็เอาไปกดที่นิ้วนาง และนิ้วนางที่นิ้วก้อย ทำให้เราไม่ต้องใช้นิ้วก้อยเลย (ผมก็เคยจับแบบนี้มาตั้งนาน) ซึ่งดูเหมือนจะง่ายกว่าแบบแรกเยอะ เพราะมือใหม่ส่วนใหญ่จะไม่สันทัดกับการใช้นิ้วก้อยซักเท่าไหร

แต่ถ้าคุณเริ่มที่จะเล่นกีต้าร์เป็นแล้ว และคุณลองเล่นเพลงจากหนังสือเพลง คุณก็จะเจอกับคอร์ด Gsus4 ซึ่งจะต้องเปลี่ยนจากคอร์ด G ไปจับ Gsus4 (มันมักจะมาด้วยกัน) ซึ่งคุณจำเป็นมากที่จะต้องใช้นิ้วชี้ แต่นิ้วชี้คุณกลับใช้ไปแล้วซะนี่...

สรุปเลยละกันน่ะครับว่า การจับคอร์ดนั้นไม่ตายตัวเสมอไป แต่การจับให้ถูกหรือเหมาะสมก็เป็นสิ่งที่ควรทำครับ

ที่มา :: http://guitarxclass.blogspot.com/

การดูแลรักษากีต้าร์

การดูแลรักษากีต้าร์

ในเรื่องของอากาศ การเปลี่ยนแปลงอย่างพอประมาณ ในสภาพดินฟ้าอากาศ ไม่มีผลเสียกับกีตาร์ แต่การเปลี่ยนแปลง อย่างรุนแรง ของระดับความร้อน หรือความชื้น สามารถทำให้ เกิดความเสียหาย แก่ไม้ทุกชิ้น ที่บอบบางที่ใช้ในการ ทำกีตาร์ ถูกเลือกขึ้นมาด้วยเหตุผลหลายประการเช่น ความสวยงาม ,ความแข็งแรง ฯลฯ แต่ไม้เหล่านี้ ดูดซึมความร้อน จากอากาศ จะทั้งดูดและเก็บความชื้นไว้ คำแนะนำ จากผู้ผลิตกีตาร์ เกี่ยวกับความปลอดภัย จากความชื้นโดยเทียบเคียง มีประมาณ 65-85 เปอร์เซ็นต์ ทั้งกีตาร์สายเหล็ก และไนล่อน การรักษาสภาพ อากาศที่ดี สำหรับกีตาร์ ของท่าน ก็เพียง การใช้ความเอาใจใส่ นิดหน่อยเท่านั้น ในสภาพอากาศ ปานกลาง ไปจนถึง อบอ้าว วางผ้าชื้นน้ำชิ้นเล็กๆ หรือที่ทำความชื้น ของกีตาร์ ที่ราคาถูกๆ ไว้ในช่องสาย ของกล่องกีตาร์ เพื่อไม่ให้กีตาร์ มีสภาพ อบอ้าวเกินไป ในสภาพอากาศ ชื้นแฉะ มีที่ดูดความชื้น อย่างวิเศษ อันเล็กๆเรียกว่า SILICA GEL มีขายตามร้านถ่ายรูป มันจะช่วยไม่ให้กีตาร์ รับความชื้นไว้มาก ใคร ผู้เป็นเจ้าของกีตาร์ ที่บอบบางมากๆ น่าจะมีไฮโกรมิเตอร์ (เครื่องวัดความชื้น)ติดไว้สักอัน เพื่อเป็นการเตือน ที่แม่นยำ หากเป็น ไปได้ ควรเก็บกีตาร์ ให้พ้นจากสภาพอากาศชื้น กีตาร์ไฟฟ้า และกีตาร์โปร่ง ส่วนมากทาแลคเกอร์ และอาจขัดเงา ด้วยน้ำยาธรรมดา สำหรับกีตาร์หายาก ที่ทาน้ำยาขัดเงาไว้ ควรใช้ผ้าแห้งๆ เช็ด แทนที่จะใช้ผสม น้ำยาขัดเงา สำหรับกีตาร์ทั่วไป การลูบไล้ ด้วยน้ำยาขัดเงานั้น จะช่วยลบรอย นื้วมือและสร้างความใหม่ให้กับตัวกีตาร์อีกด้วย สายสะพายกีตาร์ ที่เคลือบไวนิล ไว้ไม่ควรทิ้ง ให้ติดกับกีตาร์ เมื่อมันอยู่ใน กล่อง ไวนิล อาจทำให้เปื้อน และทำให้น้ำยาขัดเงาด่างไป

การดูแลรักษากีต้าร์ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรปฏิบัติ เพราะจะทำให้กีต้าร์ของเรามีเสียงที่ดีตลอดไป โดยวิธีการดูแลนั้นมีดังนี้

1.) หมัดทำความสะอาดกีต้าร์บ่อยๆ โดยเฉพาะสาย เป็นไปได้ควรทำทุกครั้งที่เล่นเสร็จ เพราะขณะที่เราเล่น จะมีเหงื่อไครติดอยู่ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ โดยเฉพาะสายกีต้าร์ที่มักจะขึ้นสนิม ส่วนวิธีการทำความสะอาดนั้น ควรใช้ผ้านุ้มๆ ไม่ต้องชุ้บน้ำเช็ด ถ้าเป็นไปได้ควรใช้น้ำยาทำความสะอาดกีต้าโดยเฉพาะ

2.) เก็บไว้ในที่ปลอดภัย ไม่ร้อนเกินไป ไม่ควรเก็บไว้ที่สูง และควรเก็บไว้ในกล่องหรือถุงสำหรับใส่กีต้าร์เพื่อป้องกันการกระแทกและรอยขีดข่วน

3.) ถ้ารู้ว่าจะไม่ได้เล่นกีต้าร์นานๆ เช่นเป็นเดือน ควรผ่อนสายกีต้าร์ให้หย่อน เพื่อเป็นการถนอมสายและคอกีต้าร์ และลูกบิด

เพียงเท่านี้กีต้าร์ของคุณก็จะมีเสียงที่ไพเราะไปอีกนานครับ



ที่มา :: http://guitarxclass.blogspot.com/2008/08/blog-post_4284.html

การอ่าน Tab

Tab กีตาร์ ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับผู้ที่อ่าน Note เพลงไม่เป็น
เมื่อเป็นเช่นนี้ การอ่าน Tab ก็คงไม่ใช่เรื่องยาก (ก็เค้าให้คนที่อ่านโน๊ตไม่เป็นนี่ เกิดยากอีกแล้วจะอ่านอะไรละทีนี้...)

ลองมาดูวิธีการอ่าน Tab แบบเบื้องต้นกันก่อนน่ะครับ (แบบ ชิว ชิว)

รูปข้างล่างนี้แทนสายกีตาร์ ซึ่งเลข 1 ก็คือสายเส้นเล็กสุด ส่วนเลข 6 ก็เป็นสายเส้นใหญ่สุดตามลำดับ

1 ----------------------------------------------
2 ----------------------------------------------
3 ----------------------------------------------
4 ----------------------------------------------
5 ----------------------------------------------
6 ----------------------------------------------

สิ่งที่คุณจะพบอีกอย่างในการอ่าน Tab ก็คือตัวเลขมากมายที่ปรากฏอยู่บนสายแต่ละเส้น ซึ่งตัวเลขแต่ละตัวจะแทนการใช้นิ้วมือซ้ายกดสายกีตาร์ที่ช่องนั้นๆ บนคอกี่ตาร์ เช่น

0 = ไม่มีการกด, 1 = กดช่องที่ 1, 2 = กดช่องที่ 2

เป็นต้น ลองดูตัวอย่างที่ 1 กันเลยครับ


ตัวอย่างที่ 1

1 ---------------------------------------------
2 -------------------------------0---1--------
3 ----------------------0---2-----------------
4 --------0---2---3--------------------------
5 ---3----------------------------------------
6 ---------------------------------------------


ตัวอย่างนี้ก็ง่ายๆ ครับ ใช้นิ้วมือซ้ายกดตามช่อง (ตัวเลข) ที่ระบุไว้ที่ละเส้น แล้วก็ใช้นิ้วมือขวา หรือปิ๊ก ในการดีดสายกีตาร์ตามเส้นที่เรากด ซึ่งเสียงที่ได้ออกมาก็จะเป็น "โด เร มี ฟา ..." นั่นแหละครับ

มักจะมีคำถามว่า เราจะรู้ได้ไงว่าจะต้องใช้นิ้วมือซ้ายนิ้วใหนในการกดสายกีตาร์ คำตอบก็คือ ไม่มีการกำหนดแน่ชัดครับว่าต้องเป็นนิ้วใหน ตรงนี้จะแล้วแต่ความถนัดของแต่ละคนครับ ถ้าฝึกบ่อยๆ ก็จะรู้เองครับว่าควรจะใช้นิ้วใหนในการกด


ตัวอย่างที่ 2

1 ---0---------------------------0-----------------------------------------------------
2 --------0-------------3------------0---1---0-------------------0------------------
3 -------------2---0--------0---------------------------------------------------------
4 --------------------------------------------------2---3---4-------------------------
5 ---3------------------2-----------------0-------------------------------------------
6 --------------------------------------------------------------------------------------

1 -------------------------------------------------------------------------------------
2 ----------------0----1--------3---------------------0----1-------3---------------
3 ------------0-------------0--------0------------0------------0--------0----------
4 --------0----------------------0-------------0---------------------0---------------
5 --------------------------------------------------------------------------------------
6 ---3-----------------3------------------3-----------------3----------------3------


เพลงนี้เป็นเพลงประกอบภาพยนต์เรื่อง My Sassy Girl นั่นเองครับ อาจจะยากหน่อยสำหรับเพื่อนๆ ที่พึ่งหัดเล่น Tab แต่ถ้าฝึกบ่อยๆ เดี๋ยวก็ได้เองครับ

ที่มา ::http://guitarxclass.blogspot.com/

การเลือกซื้อกีตาร์

การเลือกซื้อกีตาร์

การจะซื้อกีต้าร์สักตัวนั้น เราควรจะเลือกให้ได้ดีและคุ้มกับเงินที่เราจะเสียที่สุด ซึ่งก่อนอื่นคุณต้องตั้งงบประมาณซะก่อน เพราะกีต้าร์นั้นมีหลายราคามาก ตั้งแต่หลักร้อย ไปถึงเป็นหมื่นๆ เลย สำหรับผู้ที่พึ่งจะเริ่มฝึกกีต้าร์ ผมแนะนำให้ซื้อไม่ต้องแพงเกินไป เอาไว้เล่นเป็นก่อนเราค่อยซื้อดีๆ เลยก็ได้ครับ สำหรับวิธีเลือกซื้อนั้นมีดังนี้

1.) ตรวจดูภายนอกของกีต้าร์ว่ามีรอยตำหนิหรือไม่ ชำรุดตรงใหนรึปล่าว โดยเฉพาะลูกบิด อย่าให้โยกหรือเป็นสนิม

2.) สังเกตุคอกีต้าร์ว่าโค้งงอหรือไม่ โดยปกติแล้วคอกีต้าร์จะโค้งมาข้างหน้านิดหน่อย แต่ถ้าคุณดูแล้วว่าโค้งมากผิดปกติ ก็ควรเปลี่ยนอันเสีย

3.) ลองส่องดูภายในของกีต้าร์จากช่องตรงไม้แผ่นหน้า ดูว่าข้างในเรียบร้อยหรือไม่ มีการชำรุดรึปล่าว และลองดูตรงคอด้วยว่ามีแท่งเหล็กค้ำเป็นแกนรึปล่าว เพราะแกนเหล็กนี้จะช่วยให้คอกีต้าร์ไม่บิดเบี้ยว

4.) ทดลองกดสายที่แต่ละเฟร็ตดูว่ามีเสียงบอดรึปล่าว

นี่เป็นเพียงการเลือกเบื้องต้นเท่านั้น ทางที่ดีคุณควรพาผู้ที่เล่นกีต้าร์เป็นไปช่วยเลือกจะดีกว่าครับ

หมายเหตุ : กีต้าร์นั้นมีหลายประเภท กีต้าร์ที่พูดถึงนี้เป็นกีต้าร์โปร่งสายเหล็ก

ที่มา :: http://guitarxclass.blogspot.com/2008/08/blog-post_30.html

ประเภทของกีตาร์โปร่ง

ประเภท ของกีตาร์กีตาร์ โปร่ง หรือ อะคูสติกกีตาร์

Renaissance guitars
มีขนาดเล็กกว่ากีตาร์คลาสสิก และให้เสียงที่เบากว่ามาก

Classical guitars
กีตาร์คลาสสิก ถือเป็นต้นแบบกีตาร์ในยุคปัจจุบัน มีลูกบิดและแกนพันสายเป็นพลาสติก มีคอหรือฟิงเกอร์บอร์ดขนาดใหญ่ประมาณ 2 นิ้ว ลักษณะแบนราบ สายที่1 และ2 เป็นสายไนล่อน

Portuguese guitar
มี 12 สาย ใช้กับเพลงพื้นเพลงชื่อ Fado ในประเทศโปรตุเกส

Flat-top (steel-string) guitars
มีขนาดใหญ่กว่ากีตาร์คลาสสิก และเสริมความแข็งแรงที่คอ เพื่อรองรับแรงตึงของสาย ให้เสียงที่ใสและดังกว่า สายที่ใช้ สาย1และ2 มีลักษณะเป็นเส้นลวดเปลือย สายที่3-6 เป็นเส้นลวดและมีขดลวดเล็กๆพันเป็นเกลียวเพื่อเพิ่มขนาดของสาย

Archtop guitars
ด้านหน้าจะโค้ง โพรงเสียงไม่เป็นช่องกลม สะพานยึดสายด้านล่างมักเป็นแบบหางปลา นิยมใช้เล่นในดนตรีแจ๊ส

Resonator
หรือ Resophonic หรือ dobro คล้ายกับกีตาร์ Flat-top

12 string guitars
นิยมใช้ใน folk music, blues และ rock and roll มีสายโลหะ 12 สาย

Russian guitars
มี 7 สาย พบในรัสเซีย และ บางประเทศที่แยกจากสหภาพโซเวียตเท่านั้น

Acoustic bass guitars
เป็นกีตาร์เบสในรูปแบบอคูสติก มีสายและเสียงเหมือนกัน โน้ตที่เล่นจะใช้ "กุญแจฟา" ให้เสียงทุ้มต่ำ นุ่มนวล

Tenor guitars
มี 4 สาย

Harp guitars
จะมีสาย harp เพิ่มขึ้นมา จากปกติที่มี 6 สาย สาย harp จะให้เสียงต่ำหรือเสียงในช่วงเบส ปกติจะไม่มีฟิงเกอร์บอร์ดหรือเฟร็ต

Guitar battente
มีขนาดเล็กกว่ากีตาร์คลาสสิก นิยมใช้เล่นกับเครื่องสายอีก 4-5 ชิ้น



กีตาร์ ไฟฟ้า

แบ่งตามโครงสร้างของลำตัวกีต้าร์ (Body) อาจแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ

กีต้าร์ตัวตัน (Solid Body)
หมายถึง กีต้าร์ไฟฟ้าปกติที่ ลำตัวมีลักษณะตัน ไม่มีการเจาะช่องในลำตัวกีต้าร์เหมือนอย่างกีตาร์โปร่ง หรือ อะคูสติกกีตาร์ แต่บริเวณลำตัวจะมีตัวรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือนของสายกีต้าร์ (Pick Up) ขณะที่ดีด เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องขยายเสียง (Amplifier) ต่อไป โดยทั่วไป ตัวรับสัญญาณจะมี 2 ประเภท คือ ตัวรับสัญญาณแบบแถวเดี่ยวที่เรียกว่า Single Coil และแบบแถวคู่ที่เรียกว่า Humbucker

กีต้าร์ลำตัวกึ่งโปร่ง (Semi-Hallow Body)
เป็นกีต้าร์ไฟฟ้าที่มีลักษณะโครงสร้างส่วนกลางของลำตัวในแนวเดียวกับคอ กีต้าร์ มีลักษณะตัน (แต่มีการเจาะช่องเพื่อใส่ตัวรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือนของสายกีต้าร์ (Pick Up) เช่นเดียวกับกีต้าร์ตัวตัน) บริเวณส่วนข้างของกีต้าร์มีการเจาะช่อง (Sound Hole) เอาไว้เพื่อให้เกิดการกำทอนของเสียงมากกว่ากีต้าร์ตัวตัน ซึ่งจะให้เสียงที่เป็นอคูสติกมากขึ้น นิยมใช้ในดนตรีแจ๊สหรือบลูส์ เป็นกีต้าร์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อลดเสียงรบกวนที่เรียกว่าFeed back ซึ่งเกิดจากกีต้าร์ไฟฟ้าลำตัวโปร่ง (กล่าวคือ ยังมีเสียงรบกวนบ้างแต่น้อยลงกว่าเดิม)

กีต้าร์ลำตัวโปร่ง (Hallow Body)
กีต้าร์ไฟฟ้าที่มีการเจาะช่องเอาไว้เพื่อให้เกิดการกำทอนของเสียง (Sound Hole) เช่นเดียวกับกีต้าร์โปร่งหรืออคูสติก และกีต้าร์ลำตัวกึ่งโปร่ง ปกติช่องดังกล่าวมักจะอยู่ด้านข้างของลำตัวกีต้าร์ เนื่องจากบริเวณกลางลำตัวจะมีการใส่ตัวรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือนของสายกีต้า ร์ (Pick Up) เช่นเดียวกันกับกีต้าร์ตัวตัน ซึ่งผลของการที่มีช่องกำทอนเสียง ทำให้ลักษณะของเนื้อเสียงที่ได้เป็นอคูสติกมากกว่า กีต้าร์ Semi-Hallow Body แต่หากขยายเสียงให้ดังมากจะก่อให้เกิดเสียงรบกวนที่เรียกว่า Feed back กีต้าร์ประเภทนี้มักจะนิยมใช้กับดนตรีแจ๊สหรือบลูส์เป็นส่วนใหญ่



ที่มา :: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C

ประวัติของกีตาร์

ประวัติความเป็นมาของกีตาร์


กีตาร์ถือเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง ของมนุษย์เพียงแต่ชื่อเรียกและรูปร่างย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคสมัย ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมในแถบเปอร์เซียและตะวันออกกลางหลายประเทศต่อมาได้เผย แพร่ไปยังกรุงโรมโดยชาวโรมันหรือชาวมัวร์ จากนั้นก็เริ่มได้รับความนิยมในสเปน ในยุโรปกีตาร์มักเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูง และมีเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์ที่ให้ความสนใจและศึกษาอย่างเช่น Queen Elizabeth I ซึ่งโปรดกับ Lute lซึ่งถือ ว่าเป็นต้นแบบของกีตาร์ก็ว่าได้ แต่การพัฒนาที่แท้จริงนั้นได้เกิดจากการที่นักดนตรีได้นำมันไปแสดงหรือเล่น ร่วมกับวงดนตรีของประชาชนทั่ว ๆ ไปทำให้มีการเผยแพร่ไปยังระดับประชาชนจนได้มีการนำไปผสมผสานเข้ากับเพลงพื้น บ้านทั่ว ๆ ไปและเกิดแนวดนตรีในแบบต่าง ๆ มากขึ้น
ผู้หนึ่งที่สมควรจะกล่าวถึงเมื่อพูดถึงประวัติของกีตาร์ก็คือ Fernando Sor ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อวงการกีตาร์เป็นอันมาก เนื่องจาการอุทิศตนให้กับการพัฒนารูปแบบการเล่นกีตาร์เทคนิคต่าง ๆ และได้แต่งตำราไว้มากมาย ในปี 1813 เขาเดินทางไปยังปารีตซึ่งเขาได้รับความสำเร็จและความนิยมอย่างมาก จากนั้นก็ได้เดินทางไปยังลอนดอนโดยพระราชูปถัมป์ของ Duke of Sussex และที่นั่นการแสดงของเขาทำให้กีตาร์เริ่มได้รับความนิยม จากอังกฤษเขาได้เดินทางไปยังปรัสเซีย รัสเซียและได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากชาวเมืองเซนต์ ปีเตอร์เบิร์ก ซึ่งที่นั่นเขาได้แต่งเพลงที่มีความสำคัญอย่างมากเพลงหนึ่งถวายแก่พระเจ้า Nicolus I จากนั้นเขาก็ได้กลับมายังปารีตจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อปี 1839 หลังจากนั้นได้มีการเรียนีการสอน ทฤษฎีกีตาร์ที่เด่นชัดและสมบูรณ์มากขึ้น ทำให้กีตาร์ได้รับการพัฒนาอย่างมาก หลังจากนั้นมีอีกผู้หนึ่งที่มีความสำคัญต่อกีตาร์เช่นกันคือ Francisco Tarrega (1854-1909) ซึ่งเกิดมาในครอบครัวที่ยากจนแต่ด้วยความสามารถด้านดนตรีของเขาก็ทำให้เขา ประสบความสำเร็จจนได้จากการแสดง ณ Alhambra Theater จากนั้นเขาได้เดินทางไปยัง Valencia, Lyons และ Paris เขาได้รับการยกย่องว่าได้รวมเอาคุณสมบัติของเครื่องดนตรี 3 ชนิดมารวมกันคือ ไวโอลิน, เปียโน และ รวมเข้ากับเสียงของกีตาร์ได้อย่างไพเราะกลมกลืน ทุกคนที่ได้ฟังเขาเล่นต่างบอกว่าเขาเล่นได้อย่างมีเอกลักษณ์และสำเนียงที่มี ความไพเราะน่าทึ่ง หลังจากเขาประสบความสำเร็จใน London, Brussels, Berne และ Rome เขาก็ได้เดินทางกลับบ้านและได้เริ่มอุทิศตนให้กับการแต่งเพลงและสอนกีตาร์ อย่างจริงจัง ซึ่งนักกีตาร์ในรุ่นหลัง ๆ ได้ยกย่องว่าเขาเป็นผู้ริเริ่มการสอนกีตาร์ยุคใหม่

อีกคนหนึ่งที่จะขาดไม่ได้คือ Andres Sergovia ผู้ซึ่งเดินทางแสดงและเผยแพร่กีตาร์มาแล้วเกือบทั่วโลกเพื่อให้คนได้รู้จัก กีตาร์มากขึ้น (แต่คงไม่ได้มาเมืองไทยน่ะครับ) ทั้งการแสดงเดี่ยวหรือเล่นกับวงออเคสตร้า จนเป็นแรงบันดาลใจให้มีการแต่งตำราและบทเพลงของกีตาร์ขึ้นมาอีกมากมาย อันเนื่องมาจากการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องกีตาร์อย่างเปิดเผยและจริงจังของ เขาผู้นี้ นอกจากนี้ผลงานต่าง ๆ ของเขาได้ทำให้ประวัติศาสตร์กีตาร์เปลี่ยนหน้าใหม่เพราะทำให้นักีตาร์ได้มี โอกาสแสดงใน concert hall มากขึ้น และทำให้เกิดครูและหลักสูตรกีตาร์ขึ้นในโรงเรียนดนตรีอีกด้วย


สำหรับการร้องไปพร้อมกับกีตาร์ได้เริ่มมีขึ้น เมื่อสามารถปรับให้ระดับเสียงของกีตาร์นั้นเข้ากับเสียงร้องได้ ซึ่งผมเข้าใจว่าในอดีตกีตาร์มีไว้บรรเลงมากกว่าแต่เมื่อสามารถผสมผสานเสียง ของกีตาร์กับเสียงร้องได้การร้องคลอไปกับกีตาร์จึงเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น นักร้องนักกีตาร์(คือทั้งเล่นทั้งร้อง) น่าจะมาจากนักร้องในยุคกลางซึ่งเป็นชนชั้นสูงได้ปลีกตัวไปทำงานในแบบที่เป็น อิสระและอยากจะทำจึงมีการผสมกันกับรูปแบบของดนตรีพื้นบ้านมากขึ้น ซึ่งงานดนตรีจึงแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. เป็นงานประพันธ์เพื่อจรรโลกโลกหรือมีความจริงจังในทางดนตรีเพื่อการแสดงเป็น ส่วนใหญ่ ก็คือเพลงคลาสสิกนั่นเอง

2. งานที่สร้างจากคนพื้นบ้านจากการถ่ายทอดจากพ่อสู่ลูกลูกสู่หลาน เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและสภาพความเป็นอยู่ แสดงถึงวิถีการดำเนินชีวิต ใช้ในการผ่อนคลายจากการงานความทุกข์ความยากจน เล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ อันได้มาจากประสบการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวขณะนั้นจึงมีความเป็นธรรมชาติอยู่มาก

และโดยที่ทั้ง 2 ส่วนดังกล่าวได้มีการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลา จากอดีตถึงปัจจุบันจนมีการซึมซับเข้าไปยังเนื้อเพลงและทำนองเพลงทำให้เกิด รูปแบบของดนตรีในแบบใหม่ ๆมากขึ้นเรื่อย ๆ

ในอเมริกา ผู้ที่เข้าไปอาศัยได้นำเอาดนตรีและการเต้นรำของพวกเขาเข้ามาด้วยเช่นพวกทหาร นักสำรวจ พวกเคาบอยหรือคนงานเหมืองทำให้มีการผสมผสานกันในรูปแบบของดนตรีและที่สำคัญ ที่สุดคือพวก อเมริกัน นิโกร ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในฐานะทาสซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดเพลงบลูส์นั่นเองซึ่งส่วน ใหญ่แสดงถึงความยากลำบาก ความยากจนถ่ายทอดมาในบทเพลงสไตล์ของพวกเขาเพื่อได้ผ่อนคลายจากความเหนื่อย ยากและเล่นง่าย ๆ ด้วยกีตาร์กับเม้าท์ออร์แกนเป็นต้น ซึ่งเพลงบลูส์นั่นเองที่เป็นพื้นฐานของดนตรีอีกหลาย ๆ ประเภทไม่ว่าจะเป็นเพลงร็อคหรือแจ๊สในปัจจุบัน จนเดี๋ยวนี้กีตาร์มีความสำคัญกับดนตรีแทบทุกชนิด

แม้ว่ากีตาร์จะถูกสร้างมาหลายรูปแบบแต่แบบที่ถือว่าดีที่สุดคงเป็นแบบ สแปนนิช 6 สาย ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาที่ดีอย่างมากทั้งด้านการประดิษฐ์และด้านเทคนิค ซึ่งสามารถใช้เล่นในงานแสดงคอนเสิร์ท(หมายถึงดนตรีคลาสสิก) หรือเล่นเพลงทั่ว ๆ ไปทำให้รูปทรงกีตาร์แบบนี้เป็นที่นิยมจนปัจจุบัน เริ่มจากในศตวรรษที่ 18 ได้มีการเปลี่ยนจากสายที่เป็นสายคู่มาเป็นสายเดี่ยวและเปลี่ยนจาก 5 สายเป็น 6 สาย ช่างทำกีตาร์ในยุคศตวรรษที่ 19 ได้ขยายขนาดของ body เพิ่มส่วนโค้งของสะโพกลดส่วนผิวหน้าที่นูนออกมา และเปลี่ยนแปลงโครงยึดภายใน ลูกบิดไม้แบบเก่าถูกเปลี่ยนเป็นแบบใหม่ ในยุคเดียวกันนี้ Fernando Sor ซึ่งได้กล่าวมาในข้างต้นแล้วเป็นผูที่พัฒนาและทำให้เครื่องดนตรีนี้เป็นที่ ยอมรับและใช้ในการแสดงได้จนกระทั่งมาถึงยุคของ Andres Segovia ได้คิดดัดแปลงให้สามารถใช้กับไฟฟ้าได้ ซึ่งเป็นความพัฒนาอีกระดับของเพลงป๊อปในอเมริกาในช่วง 1930 กีตาร์ไฟฟ้าต้นแบบช่วงนั้นเป็นแบบทรงตันและหลักการนำเสียงจากกีตาร์ไปผสมกับ กระแสไฟฟ้าแล้วขยายเสียงออกมานั้นทำให้นักดนตรีและนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ซึ่งชื่อเขาพวกเรารู้จักกันดีในนามของโมเดลหนึ่งของกิ๊บสันนั่นก็คือ Les Paul ได้พัฒนาจากต้นแบบดังกล่าว มาเป็นแบบ solid body กีตาร์ หรือกีตาร์ไฟฟ้าที่เราเห็นในปัจจุบันนั่นแหละครับซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ สำคัญมากของดนตรียุคนั้นและทำให้กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยม อย่างมากในช่วงปี 1940

หลังจากนั้นในต้นปี 1940 นักประดิษฐ์ชาวแคลิฟอเนียอีกคนซึ่งเราก็รู้จักชื่อเขาในนามของยี่ห้อกีตาร์ ที่สุดยอดอีกยี่ห้อหนึ่งนั่นก็คือ Leo Fender เขาได้ประดิษฐ์กีตาร์และเครื่องขยายเสียงในร้านซ่อมวิทยุของเขา เขาได้สร้างเครื่องขยายเสียงแต่ขณะนั้นไม่มีปุ่มคอนโทรลต่าง ๆ เช่นปัจจุบัน และใช้กับกีตาร์ของเขาซึ่งมีปุ่มควบคุมเสียงดังเบาและทุ้มแหลมซึ่งเป็นต้น แบบกีตาร์ไฟฟ้ายุคใหม่ เขาไม่ได้หยุดแค่นั้นด้วยเทคโนโลยีขณะนั้นเขารู้ว่าเขาน่าจะดัดแปลงกีตาร์ โปร่งให้สามารถใช้กับเครื่องขยายเสียงได้และความพยายามเขาก็สำเร็จจนได้ในปี 1948 และได้กีตาร์ที่ชื่อว่า Telecaster ซึ่งชื่อเดิมที่เขาใช้เรียกคือ Broadcaster แต่คำว่า tele เป็นที่ติดปากกันมากกว่าและถือว่าเป็นกีตาร์ไฟฟ้าทรงตันในรูปทรงสแปนนิสรุ่น แรกที่ซื้อขายกันในเชิงพานิชย์และได้รับความนิยมอย่างมากจนกระทั่งปัจจุบัน

ปัจจุบันสำหรับกีตาร์มีพร้อมแล้วทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นรูปร่างรูปทรงประเภท ต่าง ๆ ให้เลือกเล่นตามใจชอบ สไตล์เพลงหลากหลายสไตล์ โรงเรียนสอน ตำราต่าง ๆ ให้ศึกษามากมายแต่แนนอนการพัฒนาย่อมไม่มีวันหยุดไม่แน่ในอนาคตคุณอาจเป็นคน หนึ่งที่สร้างอะไรใหม่ ๆ ให้กีตาร์จนโลกต้องบันทึกไว้ก็ได้






ที่มา :: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C