มือกีต้าร์ระดับเทพวงsilly fools




จักรินทร์ จูประเสริฐ (ต้น) กีตาร์ silly fools



Schecter








ที่มา ::http://darkfart2264.deviantart.com/art/Schecter-WallPaper-58737057

วิธีการตั้งสายกีต้าร์

นักกีต้าร์มือใหม่ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าการตั้งสายกีต้าร์นั้นเป็นเรื่องที่ยาก ก็เลยอาศัยให้นักกีต้าร์มือเก่าคอยตั้งให้ แต่หารู้ไม่ว่าที่จริงการตั้งสายนั้นง่ายมากเลย ขอแค่มีนิ้วกับความจำนิดหน่อยก็ตั้งได้แล้ว ผมจะบอกอะไรให้ครับ แค่คุณตั้งสายกีต้าร์เป็น คุณก็ดูเก่งขึ้น 20% แล้วครับ (โห้... จิงอ๊ะป่าว)

ในการตั้งสายนั้น คุณสามารถตั้งได้หลายคีย์ แล้วแต่ความพอใจของแต่ละคนครับ แต่มือใหม่ส่วนใหญ่มักจะชอบตั้งคีย์ตำๆ เพราะจะได้ไม่เจ็บนิ้วมาก ก็แล้วแต่ครับ ส่วนวิธีเทียบเสียงนั้น คุณอาจเทียบกับหลอดเทียบเสียง ซึ่งมีขายตามร้านขายเครื่องดนตรีทั่วไป แต่ถ้าสายกีต้าร์คุณราคาถูก ก็ไม่ควรตั้งให้ตึงมาก เพราะสายอาจขาดได้ครับ

เรามาดูวิธีตั้งสายกันเลยครับ

1.) บิดลุกบิดของสายที่ 6 (เส้นใหญ่สุด) ให้ได้คีย์ตามที่คุณต้องการ (ถ้าอยากได้เสียงสูง ก็บิดให้ตึงหน่อย อยากได้เสียงต่ำ ก็ให้หย่อนหน่อย) สำหรับคีย์ตามมาตรฐานของสาย 6 คือคีย์ E ครับ

2.) ใช้นิ้วกดเฟร็ตที่ 5 (เฟร็ต = ช่อง) ของสายที่ 6 แล้วดีดสายที่ 5 กับ 6 ให้ได้เสียงเดียวกัน ซึ่งก็คือคีย์ A

3.) ใช้นิ้วกดเฟร็ตที่ 5 (เฟร็ต = ช่อง) ของสายที่ 5 แล้วดีดสายที่ 4 กับ 5 ให้ได้เสียงเดียวกัน ซึ่งก็คือคีย์ D

4.) ใช้นิ้วกดเฟร็ตที่ 5 (เฟร็ต = ช่อง) ของสายที่ 4 แล้วดีดสายที่ 3 กับ 4 ให้ได้เสียงเดียวกัน ซึ่งก็คือคีย์ G

5.) ใช้นิ้วกดเฟร็ตที่ 4 (เฟร็ต = ช่อง) ของสายที่ 3 แล้วดีดสายที่ 2 กับ 3 ให้ได้เสียงเดียวกัน ซึ่งก็คือคีย์ B

6.) ใช้นิ้วกดเฟร็ตที่ 5 (เฟร็ต = ช่อง) ของสายที่ 2 แล้วดีดสายที่ 1 กับ 2 ให้ได้เสียงเดียวกัน ซึ่งก็คือคีย์ E

สามารถดาว์นโหลดตัวอย่างเสียงกีต้าร์ได้ที่นี้ (คิดว่าตรงตามมาตรฐาน) ซึ่งเป็นการดีดสายที่ 6 5 4 3 2 1


วิธีการตั้งสาย กีต้าร์อีกขั้นตอนนะครับ

การตั้งสายกีต้าร์ สามารถทำได้โดยเริ่มตั้งสายกีต้าร์จากสายล่างสุดก่อน สายล่างสุดจะเป็น key E
หากมีเครื่องตั้งสายกีต้าร์ ก็สามารถเทียบกับเครื่องทีละสายได้เลย แต่สำหรับเพื่อน ๆ ที่ไม่มี
เครื่องตั้งสายให้ยึดเอาเส้นล่างสุดเป็นหลักก่อน จากนั้นทำตามขั้นตอนการตั้งสายกีต้าร์ ดังต่อไปนี้

การตั้งสายกีต้าร์ สายที่ 1 เทียบ 2
ให้ทำการกดสายที่ 2 เฟรตที่ 5 แล้วดีดสาย 2 กับ 1 พร้อมกัน
ลองฟังดูว่าเสียงที่เกิดขึ้นจาก 2 สายนี้เป็นเสียงเดียวกันหรือไม่
หากเป็นเสียงตรงกันไม่เกิดเสียงวน ก็แสดงว่าตั้งสายกีต้าร์ 2 สายนี้ตรงแล้ว

การตั้งสายกีต้าร์ สายที่ 2 เทียบ 3
ให้ทำการกดสายที่ 3 เฟรตที่ 4 แล้วดีดสาย 3 กับ 2 พร้อมกัน
ลองฟังดูว่าเสียงที่เกิดขึ้นจาก 2 สายนี้เป็นเสียงเดียวกันหรือไม่
หากเป็นเสียงตรงกันไม่เกิดเสียงวน ก็แสดงว่าตั้งสายกีต้าร์ 2 สายนี้ตรงแล้ว

การตั้งสายกีต้าร์ สายที่ 3 เทียบ 4
ให้ทำการกดสายที่ 4 เฟรตที่ 5 แล้วดีดสาย 4 กับ 3 พร้อมกัน
ลองฟังดูว่าเสียงที่เกิดขึ้นจาก 2 สายนี้เป็นเสียงเดียวกันหรือไม่
หากเป็นเสียงตรงกันไม่เกิดเสียงวน ก็แสดงว่าตั้งสายกีต้าร์ 2 สายนี้ตรงแล้ว

การตั้งสายกีต้าร์ สายที่ 4 เทียบ 5
ให้ทำการกดสายที่ 5 เฟรตที่ 5 แล้วดีดสาย 5 กับ 4 พร้อมกัน
ลองฟังดูว่าเสียงที่เกิดขึ้นจาก 2 สายนี้เป็นเสียงเดียวกันหรือไม่
หากเป็นเสียงตรงกันไม่เกิดเสียงวน ก็แสดงว่าตั้งสายกีต้าร์ 2 สายนี้ตรงแล้ว

การตั้งสายกีต้าร์ สายที่ 5 เทียบ 6
ให้ทำการกดสายที่ 6 เฟรตที่ 5 แล้วดีดสาย 6 กับ 5 พร้อมกัน
ลองฟังดูว่าเสียงที่เกิดขึ้นจาก 2 สายนี้เป็นเสียงเดียวกันหรือไม่
หากเป็นเสียงตรงกันไม่เกิดเสียงวน ก็แสดงว่าตั้งสายกีต้าร์ 2 สายนี้ตรงแล้ว

ที่มา :: http://guitarxclass.blogspot.com/

ส่วนประกอบของกีต้าร์โปร่ง




ตามที่เห็นในรูป ผมจะแบ่งมันออกเป็น 3 ส่วนนะครับ คือ ส่วนหัว ส่วนคอ และลำตัว เพื่อให้ง่ายต่อการอธิบาย
ส่วนหัว ( Headstock ) จะเป็นส่วนที่มีลูกบิด ( Tuning Keys ) ที่จะเอาไว้ใส่สาย ตรงที่เป็นลูกบิดเรียกว่า Tuners ส่วนตรงที่มีรูให้เอาสายแหย่เข้าไปเรียกว่า Tuners postsส่วนแท่งสีขาวๆเล็กๆ ที่สายกีต้าร์พาดผ่านมันลงไป เราเรียกว่า nut ( นัท )
ส่วนคอ ( neck ) ก็จะมีฟิงเกอร์บอร์ด ( fingerboard ) และเฟร็ต ( frets )
ส่วนลำตัว ( body ) ก็จะมีช่องกลมๆใหญ่ๆที่เอาไว้รับเสียงเรียกว่า ซาวด์โฮล ( soundhole ) และในช่องนี้ยังสามารถที่จะติดตั้งอุปกรณ์รับเสียง ( pickup ) ได้ด้วยและมีปิ้คการ์ด ( pickguard ) เอาไว้ป้องกันรอยขูดขีดจากปิ้คของเราล่างสุดก็จะเป็นหย่องหลัง โดยอันที่ยึดติดกับตัวกีต้าร์เราเรียกว่า แซดเดิ้ล ( saddle ) จะมีหมุดสำหรับใส่สาย และมี บริดจ์ ( bridge ) คอยรองสายเอาไว้

ที่มา :: http://guitarxclass.blogspot.com/2008/08/acoustic-guitar.html

การจับคอร์ดกีต้าร์

การจับคอร์ดถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเล่นกีต้าร์เลยก็ว่าได้ ในโลกนี้มีคอร์ดอยู่มากมายมหาสาร
มีผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่าคอร์ดนั้นมีอยู่เป็นร้อยเป็นพันธ์เลยทีเดียว (โห้... ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ) ใครคิดวิธีจับแบบใหนได้ก็อาจจะเรียกเป็นคอร์ดใหม่เลยก็ได้ แต่อย่าพึ่งตกใจไปน่ะครับ คอร์ดหลักๆ นั้นมีอยู่แค่ 7 คอร์ดเท่านั้นเอง คือ A B C D E F และ G ส่วนที่เหลือนั้นก็จะเป็นพวกน้ำจิ๋มน้ำปลาทั้งนั้น

ในที่นี้ผมจะสอนวิธีการจับคอร์ดง่ายๆ และวิธีการดูคอร์ดจากรูปภาพ ซึ่งถ้าคุณรู้วิธีหล่าวนี้แล้ว คุณก็จะสามารถนำไปประยุคในการจับคอร์ดอื่นๆ ได้ เอาหละ เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ




จากรูป เป็นคอกีต้าร์ในลักษณะหันหน้าเข้าหาตัว เส้นในแนวตั้งก็คือสายกีต้านั้นเอง โดยเลข 1 ที่กำกับอยู่ข้างบนก็คือสายที่ 1 หรือสายที่เล็กที่สุด ส่วนเลขหกก็คือสายที่ใหญ่ที่สุด

เส้นในแนวนอนก็คือเส้นขั้นระหว่างเฟร็ต โดยเฟร็ตบนสุดก็คือเฟร็ตที่ 1 และถัดลงมาก็คือเฟร็ตที่ 2, 3, 4 .... ไปเรื่อยๆ

ส่วนรูปด้านล่างนี้ เป็นตัวอย่างของการจับคอร์ด C ซึ่งตัวเลขในลูกกลมๆ สีแดงก็คือนิ้วมือซ้ายนั้นเอง โดยรายละเอียดมีดังนี้






1 = นิ้วชี้ 2 = นิ้วกลาง 3 = นิ้วนาง 4 = นิ้วก้อย

ตัวเลขต่างๆ หล่าวนี้ที่จริงแล้วในตารางคอร์ดทั่วๆ ไปจะไม่มีกำกับไว้ ถ้าไม่มีแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าจับคอร์ดได้ถูกต้องหรือผิด? คำตอบก็คือไม่มีใครถูกใครผิดหรอกครับ เพราะการจับนั้นไม่ตายตัว ใครถนัดแบบใหนก็จับแบบนั้น แต่บางทีการจับให้ถูกต้องนั้นก็สำคัญเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่นการจับคอร์ด G จากรูปจะเห็นว่าเราไม่จำเป็นที่จะต้องใช้นิ้วก้อย (เลข 4) ในการจับเลย เพราะนิ้วชิ้วเรายังว่างอยู่นิ หลายคนโดยเฉพาะมือใหม่ๆ ก็เลยใช้นิ้วชี้กดแทนนิ้วกลาง ส่วนนิ้วกลางก็เอาไปกดที่นิ้วนาง และนิ้วนางที่นิ้วก้อย ทำให้เราไม่ต้องใช้นิ้วก้อยเลย (ผมก็เคยจับแบบนี้มาตั้งนาน) ซึ่งดูเหมือนจะง่ายกว่าแบบแรกเยอะ เพราะมือใหม่ส่วนใหญ่จะไม่สันทัดกับการใช้นิ้วก้อยซักเท่าไหร

แต่ถ้าคุณเริ่มที่จะเล่นกีต้าร์เป็นแล้ว และคุณลองเล่นเพลงจากหนังสือเพลง คุณก็จะเจอกับคอร์ด Gsus4 ซึ่งจะต้องเปลี่ยนจากคอร์ด G ไปจับ Gsus4 (มันมักจะมาด้วยกัน) ซึ่งคุณจำเป็นมากที่จะต้องใช้นิ้วชี้ แต่นิ้วชี้คุณกลับใช้ไปแล้วซะนี่...

สรุปเลยละกันน่ะครับว่า การจับคอร์ดนั้นไม่ตายตัวเสมอไป แต่การจับให้ถูกหรือเหมาะสมก็เป็นสิ่งที่ควรทำครับ

ที่มา :: http://guitarxclass.blogspot.com/

การดูแลรักษากีต้าร์

การดูแลรักษากีต้าร์

ในเรื่องของอากาศ การเปลี่ยนแปลงอย่างพอประมาณ ในสภาพดินฟ้าอากาศ ไม่มีผลเสียกับกีตาร์ แต่การเปลี่ยนแปลง อย่างรุนแรง ของระดับความร้อน หรือความชื้น สามารถทำให้ เกิดความเสียหาย แก่ไม้ทุกชิ้น ที่บอบบางที่ใช้ในการ ทำกีตาร์ ถูกเลือกขึ้นมาด้วยเหตุผลหลายประการเช่น ความสวยงาม ,ความแข็งแรง ฯลฯ แต่ไม้เหล่านี้ ดูดซึมความร้อน จากอากาศ จะทั้งดูดและเก็บความชื้นไว้ คำแนะนำ จากผู้ผลิตกีตาร์ เกี่ยวกับความปลอดภัย จากความชื้นโดยเทียบเคียง มีประมาณ 65-85 เปอร์เซ็นต์ ทั้งกีตาร์สายเหล็ก และไนล่อน การรักษาสภาพ อากาศที่ดี สำหรับกีตาร์ ของท่าน ก็เพียง การใช้ความเอาใจใส่ นิดหน่อยเท่านั้น ในสภาพอากาศ ปานกลาง ไปจนถึง อบอ้าว วางผ้าชื้นน้ำชิ้นเล็กๆ หรือที่ทำความชื้น ของกีตาร์ ที่ราคาถูกๆ ไว้ในช่องสาย ของกล่องกีตาร์ เพื่อไม่ให้กีตาร์ มีสภาพ อบอ้าวเกินไป ในสภาพอากาศ ชื้นแฉะ มีที่ดูดความชื้น อย่างวิเศษ อันเล็กๆเรียกว่า SILICA GEL มีขายตามร้านถ่ายรูป มันจะช่วยไม่ให้กีตาร์ รับความชื้นไว้มาก ใคร ผู้เป็นเจ้าของกีตาร์ ที่บอบบางมากๆ น่าจะมีไฮโกรมิเตอร์ (เครื่องวัดความชื้น)ติดไว้สักอัน เพื่อเป็นการเตือน ที่แม่นยำ หากเป็น ไปได้ ควรเก็บกีตาร์ ให้พ้นจากสภาพอากาศชื้น กีตาร์ไฟฟ้า และกีตาร์โปร่ง ส่วนมากทาแลคเกอร์ และอาจขัดเงา ด้วยน้ำยาธรรมดา สำหรับกีตาร์หายาก ที่ทาน้ำยาขัดเงาไว้ ควรใช้ผ้าแห้งๆ เช็ด แทนที่จะใช้ผสม น้ำยาขัดเงา สำหรับกีตาร์ทั่วไป การลูบไล้ ด้วยน้ำยาขัดเงานั้น จะช่วยลบรอย นื้วมือและสร้างความใหม่ให้กับตัวกีตาร์อีกด้วย สายสะพายกีตาร์ ที่เคลือบไวนิล ไว้ไม่ควรทิ้ง ให้ติดกับกีตาร์ เมื่อมันอยู่ใน กล่อง ไวนิล อาจทำให้เปื้อน และทำให้น้ำยาขัดเงาด่างไป

การดูแลรักษากีต้าร์ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรปฏิบัติ เพราะจะทำให้กีต้าร์ของเรามีเสียงที่ดีตลอดไป โดยวิธีการดูแลนั้นมีดังนี้

1.) หมัดทำความสะอาดกีต้าร์บ่อยๆ โดยเฉพาะสาย เป็นไปได้ควรทำทุกครั้งที่เล่นเสร็จ เพราะขณะที่เราเล่น จะมีเหงื่อไครติดอยู่ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ โดยเฉพาะสายกีต้าร์ที่มักจะขึ้นสนิม ส่วนวิธีการทำความสะอาดนั้น ควรใช้ผ้านุ้มๆ ไม่ต้องชุ้บน้ำเช็ด ถ้าเป็นไปได้ควรใช้น้ำยาทำความสะอาดกีต้าโดยเฉพาะ

2.) เก็บไว้ในที่ปลอดภัย ไม่ร้อนเกินไป ไม่ควรเก็บไว้ที่สูง และควรเก็บไว้ในกล่องหรือถุงสำหรับใส่กีต้าร์เพื่อป้องกันการกระแทกและรอยขีดข่วน

3.) ถ้ารู้ว่าจะไม่ได้เล่นกีต้าร์นานๆ เช่นเป็นเดือน ควรผ่อนสายกีต้าร์ให้หย่อน เพื่อเป็นการถนอมสายและคอกีต้าร์ และลูกบิด

เพียงเท่านี้กีต้าร์ของคุณก็จะมีเสียงที่ไพเราะไปอีกนานครับ



ที่มา :: http://guitarxclass.blogspot.com/2008/08/blog-post_4284.html

การอ่าน Tab

Tab กีตาร์ ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับผู้ที่อ่าน Note เพลงไม่เป็น
เมื่อเป็นเช่นนี้ การอ่าน Tab ก็คงไม่ใช่เรื่องยาก (ก็เค้าให้คนที่อ่านโน๊ตไม่เป็นนี่ เกิดยากอีกแล้วจะอ่านอะไรละทีนี้...)

ลองมาดูวิธีการอ่าน Tab แบบเบื้องต้นกันก่อนน่ะครับ (แบบ ชิว ชิว)

รูปข้างล่างนี้แทนสายกีตาร์ ซึ่งเลข 1 ก็คือสายเส้นเล็กสุด ส่วนเลข 6 ก็เป็นสายเส้นใหญ่สุดตามลำดับ

1 ----------------------------------------------
2 ----------------------------------------------
3 ----------------------------------------------
4 ----------------------------------------------
5 ----------------------------------------------
6 ----------------------------------------------

สิ่งที่คุณจะพบอีกอย่างในการอ่าน Tab ก็คือตัวเลขมากมายที่ปรากฏอยู่บนสายแต่ละเส้น ซึ่งตัวเลขแต่ละตัวจะแทนการใช้นิ้วมือซ้ายกดสายกีตาร์ที่ช่องนั้นๆ บนคอกี่ตาร์ เช่น

0 = ไม่มีการกด, 1 = กดช่องที่ 1, 2 = กดช่องที่ 2

เป็นต้น ลองดูตัวอย่างที่ 1 กันเลยครับ


ตัวอย่างที่ 1

1 ---------------------------------------------
2 -------------------------------0---1--------
3 ----------------------0---2-----------------
4 --------0---2---3--------------------------
5 ---3----------------------------------------
6 ---------------------------------------------


ตัวอย่างนี้ก็ง่ายๆ ครับ ใช้นิ้วมือซ้ายกดตามช่อง (ตัวเลข) ที่ระบุไว้ที่ละเส้น แล้วก็ใช้นิ้วมือขวา หรือปิ๊ก ในการดีดสายกีตาร์ตามเส้นที่เรากด ซึ่งเสียงที่ได้ออกมาก็จะเป็น "โด เร มี ฟา ..." นั่นแหละครับ

มักจะมีคำถามว่า เราจะรู้ได้ไงว่าจะต้องใช้นิ้วมือซ้ายนิ้วใหนในการกดสายกีตาร์ คำตอบก็คือ ไม่มีการกำหนดแน่ชัดครับว่าต้องเป็นนิ้วใหน ตรงนี้จะแล้วแต่ความถนัดของแต่ละคนครับ ถ้าฝึกบ่อยๆ ก็จะรู้เองครับว่าควรจะใช้นิ้วใหนในการกด


ตัวอย่างที่ 2

1 ---0---------------------------0-----------------------------------------------------
2 --------0-------------3------------0---1---0-------------------0------------------
3 -------------2---0--------0---------------------------------------------------------
4 --------------------------------------------------2---3---4-------------------------
5 ---3------------------2-----------------0-------------------------------------------
6 --------------------------------------------------------------------------------------

1 -------------------------------------------------------------------------------------
2 ----------------0----1--------3---------------------0----1-------3---------------
3 ------------0-------------0--------0------------0------------0--------0----------
4 --------0----------------------0-------------0---------------------0---------------
5 --------------------------------------------------------------------------------------
6 ---3-----------------3------------------3-----------------3----------------3------


เพลงนี้เป็นเพลงประกอบภาพยนต์เรื่อง My Sassy Girl นั่นเองครับ อาจจะยากหน่อยสำหรับเพื่อนๆ ที่พึ่งหัดเล่น Tab แต่ถ้าฝึกบ่อยๆ เดี๋ยวก็ได้เองครับ

ที่มา ::http://guitarxclass.blogspot.com/